© 2016 by RENOMAX : รีโนเวทบ้านแบบเต็มMAX

  • Facebook - White Circle

ไอเดียรีโนเวทบ้านชั้นเดียวในนอร์ทแคโรไลนา

September 1, 2017

ไอเดียบ้านชั้นเดียวริมทะเลสาบ

September 1, 2017

สุดยอดไอเดียการสร้างบ้าน เพื่อเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ

August 19, 2017

7 เคล็ดลับในการรีโนเวทบ้านที่จะช่วยให้คุณประหยัด

October 11, 2016

7 วิธีเลือกผู้รับเหมาที่คุณควรรู้

October 11, 2016

11 เทรนด์ที่น่าสนใจในการรีโนเวทห้องครัวใหม่ให้สวยสะดุดตา

October 11, 2016

9 เคล็ดลับการรีโนเวทให้ประหยัดทั้งเงินและเวลา

October 2, 2016

เปลี่ยน มุมเก่า ในบ้านให้สวยปัง!

April 27, 2016

รีวิวการแต่งบ้านดีๆจากpantip.com ครับบบ

April 27, 2016

แบบบ้านจิ๋วๆ ที่มาพร้อมความปังที่ยิ่งใหญ่

April 25, 2016

Please reload

Recent Posts

11 เทรนด์ที่น่าสนใจในการรีโนเวทห้องครัวใหม่ให้สวยสะดุดตา

October 11, 2016

9 เคล็ดลับการรีโนเวทให้ประหยัดทั้งเงินและเวลา

October 2, 2016

7 วิธีเลือกผู้รับเหมาที่คุณควรรู้

October 11, 2016

1/3
Please reload

Featured Posts

ไฟเบอร์ซีเมนต์ VS ไม้อัดซีเมนต์

April 22, 2016

 

 

 

 

 หากพูดถึงวัสดุแผ่นที่ใช้เป็นส่วนประกอบในบ้าน เช่น ฝ้าเพดาน ผนัง แผ่นปูพื้น เรามักคุ้นเคยกับแผ่นไม้อัดและแผ่นยิปซัม แต่ในท้องตลาดก็ยังมีวัสดุแผ่นอีกชนิดซึ่งเป็นที่รู้จักในนามของ “ซีเมนต์บอร์ด” ทั้งแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ และแผ่นไม้อัดซีเมนต์
  
รู้จักกับแผ่นซีเมนต์บอร์ด
       ส่วนผสมของแผ่นซีเมนต์บอร์ดประกอบด้วย “ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์” (ซึ่งเป็นวัสดุที่แข็งแรงแต่เปราะหักง่ายหากรีดเป็นแผ่นบาง) ผสมกับวัสดุอื่นที่มีความเหนียวยืดหยุ่นแล้วอัดด้วยแรงดันสูงเป็นแผ่น ทำให้ได้วัสดุที่แข็งแรง มีความยืดหยุ่นในตัว ปลวกไม่กิน  และทนความเปียกชื้นได้พอสมควร วัสดุที่นำมาผสมกับปูนซีเมนต์จะเป็นตัวกำหนดชนิดของซีเมนต์บอร์ด หากเป็นเส้นใยเซลลูโลสจากต้นไม้ผนวกกับทรายซิลิกา จะเรียกว่า “แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์” (Fiber Cement Board) แต่ถ้าเป็นชิ้นไม้จะเรียกว่า “แผ่นไม้อัดซีเมนต์” (Wood Cement Board หรือ Cement Bonded Particle Board)

 

แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์กับแผ่นไม้อัดซีเมนต์ ต่างกันอย่างไร
       วัสดุทั้งสองเป็นแผ่นซีเมนต์บอร์ดที่มีคุณสมบัติบางอย่างคล้ายกัน คือสามารถใช้ทำพื้น ผนังเบา ฝ้าเพดาน ทั้งภายในและภายนอก รวมถึงใช้เป็นวัสดุรองใต้หลังคาได้ ทั้งยังนำความร้อนต่ำจึงเหมาะกับใช้สร้างบ้านประหยัดพลังงาน  อย่างไรก็ตาม วัสดุทั้งสองยังมีคุณสมบัติต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย เนื่องมาจากวัตถุดิบและกรรมวิธีการผลิต

       “แผ่นไม้อัดซีเมนต์” ผลิตจากซีเมนต์ผสมชิ้นไม้ย่อยแล้วอัดให้แน่นเป็นแผ่น โดยไส้ในจะเน้นความแข็งแรงในขณะที่ผิวนอกจะเน้นความเรียบเนียน ส่วน “แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์” ผลิตจากซีเมนต์ผสมกับเส้นใยเซลลูโลสและซิลิกา ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สร้างความเหนียวแข็งแรงผนวกกับเทคนิคการอัดพิเศษทำให้ได้วัสดุแผ่นบาง หากนำขอบรอยตัดมาเทียบกันแล้วจะเห็นว่าแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ดูเป็นเนื้อเดียวกัน ส่วนแผ่นไม้อัดซีเมนต์จะมองเห็นความต่างระหว่างไส้ในกับบริเวณผิวนอก

       ด้วยส่วนประกอบที่เป็นเส้นใยเซลลูโลส ทำให้ไฟเบอร์ซีเมนต์มีความบางและน้ำหนักเบากว่าไม้อัดซีเมนต์ (ซึ่งผลิตจากชิ้นไม้ย่อย) โดยเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับการใช้งานในลักษณะเดียวกัน เช่น แผ่นฝ้าเพดานไฟเบอร์ซีเมนต์มีความหนาเพียง 3.5-4.0 มม. แต่ถ้าเป็นไม้อัดซีเมนต์จะหนาถึง 8.0 มม. ทำให้ต้องคำนึงเรื่องโครงคร่าวรับฝ้าเพดานที่แข็งแรงเป็นพิเศษ และอาจต้องระวังเรื่องการเกิดรอยร้าวบริเวณหัวสกรูด้วย สำหรับกรณีติดตั้งเป็นพื้นจะใช้แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ที่ความหนา 16 หรือ18 มม. ในขณะที่ไม้อัดซีเมนต์จะหนาถึง 20-24 มม. จึงต้องเตรียมโครงสร้างที่รับน้ำหนักได้มากกว่า เป็นต้น

ลูกเล่นที่แตกต่าง
       แผ่นไม้อัดซีเมนต์ไม่สามารถดัดโค้งได้ แต่แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์สามารถทำได้เนื่องจากความยาวและเหนียวของเส้นใยเซลลูโลสที่เป็นส่วนประกอบ โดยมีรัศมีของการดัดโค้งจะขึ้นอยู่กับความหนาที่ใช้ แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์มีหลากหลายผิวหน้าให้เลือก โดยนอกจากแผ่นเรียบธรรมดาแล้วยังมีแบบที่ผิวหน้าเป็นลายเซาะร่อง ลายไม้ บางรุ่นทำสีมาจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว รวมถึงมีรุ่นที่เจาะรูระบายอากาศซึ่งเหมาะกับใช้งานเป็นฝ้าเพดานเชิงชายด้วย ในขณะเดียวกันไม้อัดซีเมนต์เองแม้จะได้เปรียบเรื่องผิวหน้าที่สวยงามเรียบเนียนกว่า แต่ก็ยังมีรุ่นที่ทำเป็นลวดลาย เช่น ลายไม้ ลายหิน ให้เลือกใช้ด้วยเช่นกัน

 

 

 

Please reload

Follow Us

ตกแต่งภายใน

บ้านชั้นเดียว

ผู้รับเหมา ตกแต่งภายในต่อเติม

ฝ้าเพดาน

พันทิป

รีโนเวท

รีโนเวท, ตกแต่งบ้าน, แต่งบ้าน, ตกแต่งภายใน, ผนังเบ

ห้องนั่งเล่น

ออกแบบ

ออกแบบบ้าน

แต่งบ้าน

แบบบ้าน

Please reload

Search By Tags

September 2017 (2)

August 2017 (1)

October 2016 (4)

April 2016 (8)

Please reload

Archive
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
  • HOME

  • ABOUT US

  • SERVICES

  • OUR WORK